รัชกาลที่ 9
|
ย้อนเวลากลับไปเมื่อ 88 ปีก่อน ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 เวลา 08.45 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ โรงพยาบาลเมานต์ ออร์เบิร์น เมืองเคมบริดจ์ (Cambridge) รัฐแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts) ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือหากนับตามเวลาประเทศไทย คือ 20.45 น. ตรงกับวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีเถาะ เป็นช่วงเวลาที่พระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรม-ราชชนนี (สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์) ทรงพระนามว่า พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพ โดยมีนายแพทย์ดับเบิลยู. สจวร์ต วิตมอร์ เป็นผู้ถวายการประสูติ โดยเหตุที่ทรงประสูติ ณ ที่แห่งนี้ เนื่องจากช่วงนั้น สมเด็จพระบรมราชชนกกำลังทรงศึกษาวิชาการแพทย์ และสมเด็จพระบรมราชชนนีกำลังทรงศึกษาวิชาการพยาบาลและเศรษฐกิจการเรือนอยู่ที่นั่นพอดี พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพล-อดุลยเดช ทรงพระราชสมภพในราชสกุล “มหิดล” อันเป็นเชื้อพระวงศ์สายหนึ่งในพระบรมราชจักรีวงศ์ โดยพระบรมราชชนก ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 69 จากจำนวน 77 พระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 7 จากจำนวน 8 พระองค์ในสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาพระบรมราชเทวี) โดยเมื่อแรกประสูติได้เฉลิมพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชฯ ทว่า หลังจากพิธีโสกันต์แล้วทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงพระยศเป็น “กรมหลวงสงขลา-นครินทร์” ในที่สุด ต่อมาในปี พ.ศ. 2471 หลังจากที่สมเด็จพระบรมราชชนกทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการแพทย์จากประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว สมเด็จ-พระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนีได้พาพระราชโอรสและพระราชธิดาเสด็จนิวัตประเทศไทย ทว่า หลังจากนั้นไม่ถึงปี พลันเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จสวรรคต เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2472 โดยในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปรมิน- ทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษาเพียง 1 พรรษากับอีก 9 เดือนเท่านั้น การสวรรคตของพระบรมราชชนก ไม่เพียงแต่ยังความเศร้าโศกเสียใจมาให้ทุกพระองค์เท่านั้น หากแต่สำหรับสมเด็จพระศรีนครินทรา-บรมราชชนนี ยังนำมาซึ่งภาระหน้าที่อันใหญ่ยิ่งในการที่จะทรงอภิบาลหน่อเนื้อกษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์เพียงลำพังโดยในการอภิบาล พระ-ราชโอรสและพระราชธิดาให้ทรงเจริญเติบโต เพียบพร้อมด้วยพระราชจริยาวัตรอันงดงาม สมบูรณ์ด้วยสติปัญญา สมเด็จพระบรมราชชนนี มีพระราชดำริว่า การเลี้ยงดูอบรมบุตรธิดานั้น มีหลักปฏิบัติสำคัญอยู่ 2 ประการ คือ เด็กต้องมีพลานามัยสมบูรณ์ และต้องอยู่ในระเบียบวินัย ภายใต้การเลี้ยงดูที่ไม่บังคับหรือเข้มงวดจนเกินไป ต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมายุ 5 พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนมาแตร์แดอี กรุงเทพมหานคร ซึ่งในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครอง ด้วยเหตุนี้ เมื่อราวต้นปี พ.ศ. 2476 สมเด็จพระบรมราชชนนีจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เวลาล่วงไปจนกระทั่งในปี พ.ศ.2481 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จนิวัตพระนครเป็นครั้งแรก แม้การเสด็จนิวัตครั้งนั้นจะไม่นานนัก หน่อเนื้อกษัตริย์ทั้ง 2 พระองค์ ทรงมีโอกาสได้ทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของประชาชน ภูมิประเทศ ขนบธรรมเนียมประเพณี และศิลปวัฒนธรรมของชาติไทย เมื่อเสด็จฯ กลับไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงทรงซึมซับและผูกพันกับเมืองไทยและคนไทยมากขึ้นเรื่อยๆ กอปรกับทางรัฐบาลก็ได้ส่งอาจารย์ชาวไทยไปถวายพระอักษรไทย ศึกษาภาษาไทย และประวัติศาสตร์ไทยด้วย การสวรรคตของพระบรมราชชนก ไม่เพียงแต่ยังความเศร้าโศกเสียใจมาให้ทุกพระองค์เท่านั้น หากแต่สำหรับสมเด็จพระศรีนครินทรา-บรมราชชนนี ยังนำมาซึ่งภาระหน้าที่อันใหญ่ยิ่งในการที่จะทรงอภิบาลหน่อเนื้อกษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์เพียงลำพังโดยในการอภิบาล พระ-ราชโอรสและพระราชธิดาให้ทรงเจริญเติบโต เพียบพร้อมด้วยพระราชจริยาวัตรอันงดงาม สมบูรณ์ด้วยสติปัญญา สมเด็จพระบรมราชชนนี มีพระราชดำริว่า การเลี้ยงดูอบรมบุตรธิดานั้น มีหลักปฏิบัติสำคัญอยู่ 2 ประการ คือ เด็กต้องมีพลานามัยสมบูรณ์ และต้องอยู่ในระเบียบวินัย ภายใต้การเลี้ยงดูที่ไม่บังคับหรือเข้มงวดจนเกินไป ต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมายุ 5 พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนมาแตร์แดอี กรุงเทพมหานคร ซึ่งในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็น การปกครองระบอบประชาธิปไตย ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองที่แปรเปลี่ยน ทำให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวายขึ้น เพราะมีความขัดแย้งระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 กับรัฐบาลของนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ผู้เป็นหัวหน้าคณะราษฎรมากยิ่งขึ้น จนไม่อาจประนีประนอมได้ วิกฤตบ้านเมืองในครั้งนั้น นับว่าส่งผลต่อพระชนม์ชีพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระบรมเชษฐาธิราช และพระเชษฐภคินี ไม่น้อย ด้วยเหตุนี้ เมื่อราวต้นปี พ.ศ. 2476 สมเด็จพระบรมราชชนนีจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พาพระราชโอรสและพระราชธิดาเสด็จฯ ไปประทับ ณ เมืองโลซาน (Lausanne) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เวลาล่วงไปจนกระทั่งในปี พ.ศ.2481 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จนิวัตพระนครเป็นครั้งแรก แม้การเสด็จนิวัตครั้งนั้นจะไม่นานนัก หน่อเนื้อกษัตริย์ทั้ง 2 พระองค์ ทรงมีโอกาสได้ทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของประชาชน ภูมิประเทศ ขนบธรรมเนียมประเพณี และศิลปวัฒนธรรมของชาติไทย เมื่อเสด็จฯ กลับไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงทรงซึมซับและผูกพันกับเมืองไทยและคนไทยมากขึ้นเรื่อยๆ กอปรกับทางรัฐบาลก็ได้ส่งอาจารย์ชาวไทยไปถวายพระอักษรไทย ศึกษาภาษาไทย และประวัติศาสตร์ไทยด้วย ครั้นเสด็จฯ กลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพียงไม่นานก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างสงคราม สมเด็จพระบรมราช-ชนนีตัดสินใจที่จะประทับที่เมืองโลซานพร้อมพระราชโอรสและพระราชธิดา ด้วยทรงเล็งเห็นว่า หากอพยพลี้ภัยไปที่อื่นจะส่งผลกระทบต่อการศึกษาเล่าเรียนของทุกพระองค์ โดยในช่วงเวลานั้น สมเด็จพระราชชนนีได้ทรงมอบบทเรียนการดำรงชีวิตอย่างมัธยัสถ์และพอเพียงให้แก่พระราชโอรสและ และแล้วสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ยุติลงเมื่อ พ.ศ. 2488 รัฐบาลไทยจึงกราบทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ให้เสด็จ-นิวัตพระนคร “ร้อยโทสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช นายทหารพิเศษ” คือพระยศทางทหารที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว-อานันทมหิดลได้ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งทรงขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 แต่แล้วความชื่นชมโสมนัสของปวงชนชาวไทยก็ดำรงอยู่ได้เพียงไม่นาน ความทุกข์ระทมแสนสาหัสก็เข้ามาแทนที่อย่างไม่ทันตั้งตัว เมื่อเช้าวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 สี่วันก่อนวันที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะเสด็จพระราชดำเนินจากประเทศไทยเพื่อกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลต้องพระแสงปืนและเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งบรมพิมาน พระบรมมหาราชวัง ท่ามกลางความเศร้าโศกาอาดูรในพระราชหฤทัยอย่างหนักของสมเด็จพระบรมราชชนนี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลย-เดช สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา และพสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ได้มีมติกราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นครองราชย์สืบพระราชสันตติวงศ์ต่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เป็นกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ลำดับที่ 9 ทรงพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถ-บพิตร” ซึ่งในเวลานั้น พระองค์มีพระชนมายุ 18 พรรษา จึงยังไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินได้ด้วยพระองค์เอง ทางรัฐสภาจึงแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินขึ้นเพื่อบริหารราชการแผ่นดินในช่วงนั้น หลังจากนั้น ด้วยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชยังคงมีพระราชภารกิจด้านการศึกษา ระหว่างศึกษาต่อในต่างแดน ยามว่างเว้นจากพระราชกิจในการศึกษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชโปรดการเสด็จประพาสไปยังสถานที่สำคัญ และระหว่างประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์นี้เอง ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพบกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาของหม่อมเจ้านักขัตรมงคลและหม่อมหลวงบัว กิติยากร ซึ่งหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์มีความสามารถและรักการเล่นดนตรีเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงต้องพระราชอัธยาศัยในหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ จากนั้นความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร จึงได้เริ่มสานต่อและค่อยๆ พัฒนาเป็นความรักในที่สุด จนกระทั่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2491 พสกนิกรชาวไทยก็ได้รับรู้ข่าวร้ายที่สร้างความสะเทือนใจอย่างหนักหนาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระบาท-สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ พระอาการสาหัส เนื่องจากรถยนต์พระที่นั่งได้ชนกับรถบรรทุกคันหนึ่ง บริเวณริมทะเลสาบเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และประทับรักษาพระองค์่ ณ โรงพยาบาล ประมาณ 3 สัปดาห์ โดยพระอาการที่น่าเป็นห่วงที่สุดในตอนนั้นคือ ที่พระเนตรข้างขวา ซึ่งแพทย์ผู้ถวายการรักษาต้องนำเศษแก้วออกจากพระเนตร 2 ชิ้น ในช่วงนั้น คณะแพทย์ขอพระราชทานอนุญาตให้ทรงพักฟื้นพระวรกายเพื่อรอเวลาทรงเข้ารับการผ่าตัดพระเนตร เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2492 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชกระแสรับสั่งเรื่องการขอหมั้นกับหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ ซึ่งในการนี้ หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร ผู้เป็นบิดาก็เห็นด้วย พระราชพิธีหมั้นอันแสนเรียบง่ายจึงได้จัดขึ้น ณ โรงแรมวินเซอร์ นครโลซาน จากนั้น ในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2493 ทางรัฐบาลได้จัดให้มีพิธีสมโภชขึ้น ในโอกาสที่พระองค์เสด็จนิวัตประเทศไทย โดยในโอกาสเดียวกันนี้เองที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระพี่นางเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ให้ขึ้นเป็น “สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา” หลังจากช่วงวันที่ 28-30 มีนาคม พ.ศ. 2493 อันเป็นช่วงเวลาแห่งพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล ผ่านไปราว 1 เดือน พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสก็ได้เกิดขึ้นในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 ณ วังสระปทุม ในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เสด็จฯ ขึ้นประทับยังห้องพระราชพิธีบน พระตำหนัก เพื่อรับพระราชทานน้ำพระพุทธมนต์และทรงเจิมพระนลาฏจากสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ตามพิธีโบราณราชประเพณี ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จฯ ขึ้นสู่พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี พระองค์ทรงเศวตพัสตร์ประทับผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก สรงพระมูรธาภิเษกเหนือพระอังสา หลังสรงแล้วทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ประทับเหนือพระราชอาสน์บัลลังก์ทอง เฉลิมพระบรมนามาภิไธยตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” พร้อมกันนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนา หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระองค์เสด็จฯ กลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้งเพื่อรักษาพระวรกาย อันเนื่องจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ตามคำแนะนำของคณะแพทย์ที่เคยถวายการรักษา และในช่วงที่ประทับรักษาพระวรกายอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงมีพระประสูติการ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ที่โรงพยาบาล ณ เมืองโลซานในวันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2494 (ตามเวลาในประเทศไทยเป็นวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494) ในเวลาต่อมา เมื่อทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ กลับมาประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ได้มีพระ-ประสูติการพระราชโอรสและพระราชธิดาอีก 3 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรง สุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์ สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร โดยต่อมาได้รับการสถาปนาพระราชอิสริยยศเป็น “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร” พระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธร-เทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ โดยต่อมาได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็น “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้าจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี” พระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
ในฐานะที่ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระผนวช ณ พระอุโบสถ วัดพระ-ศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม ถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 ซึ่งพระองค์ได้รับการถวายพระ-สมญานามทางธรรมว่า “ภูมิพโลภิกขุ” ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสมณเพศ พระองค์ประทับ ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร โดยทรงบำเพ็ญวัตรปฏิบัติเช่นพระภิกษุทั้งหลายอย่างเคร่งครัด
ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงผนวชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม-ราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ครั้นเมื่อพระองค์ลาพระผนวชจึงโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอภิไธยสมเด็จพระบรมราชินี เป็น “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” https://news.mbamagazine.net/index.php/business/must-read/item/429-9 |