พระราชประวัติรัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2423 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2453 - พ.ศ. 2468)
มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2421 พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ( สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชเทวี ) เมื่อยังทรงพระเยาว์ทรงพระนามว่า "สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ" ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวาราวดี ในปี พ.ศ. 2431 และต่อมาในปี พ.ศ. 2437 สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชเจ้าฟ้าชายมหาวชิราวุธ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมารดํารงตําแหน่งรัชทายาท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ จึงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร ดํารงตําแหน่งรัชทายาทแทน
ทางด้านการศึกษาของพระองค์
พระองค์ทรงได้รับการศึกษาการอบรมอย่างดียิ่งสมกับที่เป็นองค์รัชทายาทพระองคืทรงได้รับการศึกษาทางด้านอักษรศาสตร์ และศิลปศาสตร์ จากสมเด็จพระราชบิดาและนานาอาจารย์ผู้สันทัดแต่ละวิชาการ เมื่อพระชนมายุ 13 พรรษา ตรงกับพ.ศ. 2436 พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชบิดาได้โปรดให้พระองค์ออกไปศึกษาวิชาการ ณ ทวีปยุโรปที่โรงเรียนทหารบก แซนต์ เชิสต์ ( พ.ศ. 2441 - พ.ศ. 2442 ) ทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นราชอุปัชฌายะ เสด็จประทับจําพรรษาศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
การปกครอง และการเปลี่ยนแปลง
ด้านการปกครอง ทรงปลูกฝังประชาธิปไตยให้กับประชาชน ทรงสร้างดุสิตธานีเป็นที่ทดลองการปกครองแผนใหม่
ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2445 ทรงประกาศใช้วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456
พ.ศ. 2468 พระราชบัญญัติการเกณฑ์ทหารเข้าประจําการ
พ.ศ. 2460 ให้เลิกโรงหวย ก.ข. โรงบ่อนการพนันต่างๆ ธงชาติให้เลิกเครื่องหมายเดิม เปลี่ยนเป็นธงไตรรงค์
โปรดให้หนังสือพิมพ์เอกชนออกแสดงความคิดเห็นได้
การเปลี่ยนแปลงการใช้ วัน เดือน ปี เช่น วันขึ้นปีใหม่ ให้นับเอา 1 เมษายน พ.ศ. 2432 เป็นวันขึ้นปีใหม่และให้เลิกใช้จุลศักราชรัตนโกสินทรศก ให้ใช้พุทธศักราชแทน
ทรงจัดตั้งกองเสือป่าขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2453
พ.ศ. 2454 โปรดให้ตราข้อบังคับเกี่ยวกับลักษณะการปกครองลูกเสือขึ้น
การศึกษา ทรงโปรดยกโรงเรียนมหาดเล็กเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ภายหลังให้ยกโรงเรียนนี้เป็นจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย เริ่มต้นฝึกหัดครูชายและหญิง และโปรดให้หัวเมืองต่างๆ มีการศึกษาถึงชั้นมัธยมบริบูรณ์
พ.ศ. 2461 โปรดให้ออกพระราชบัญญัติ โรงเรียนราษฎร์
พ.ศ. 2464 โปรดให้ออกพระราชบัญญัติประถมศึกษา
ศาสนา พระองค์ทรงได้ทํานุบํารุงทางวัด แล้วยังให้พระภิกษุได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวาง พระองค์ทรงสั่งสอนข้าราชการในเรื่องศาสนาด้วยพระองค์เอง และพระราชนิพนธ์หนังสือเรื่องพระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร
การคมนาคม ได้โปรดให้ขยายทางรถไฟสายใต้ไปจนติดต่อกับทางรถไฟสายมลายูของอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2464 และขยายทางรถไฟสายเหนือ ถึงเชียงใหม่ ทางรถไฟสายตะวันออกถึงกบินทร์บุรี พร้อมกับทรงโปรดให้เชื่อมทางรถไฟสายต่างๆ ไว้ที่สถานีกรุงเทพฯเป็นชุมทางแห่งเดียว และได้โปรดให้สร้างสะพานพระราม 6 ขึ้น เพื่อเชื่อมทางรถไฟสายใต้ให้ถึงสถานีกรุงเทพฯ
การสาธารณสุข พ.ศ. 2454 ทรงตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยใช้ทุนทรัพย์ส่วนพระองค์
การกบฎกับการสงคราม
กบฎ ร.ศ. 130 ประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ข้าราชการ พลเรือน ได้ร่วมกันคิดที่จะทําการปฎิวัติ เมื่อ ร.ศ. 130 ตรงกับ พ.ศ. 2454 เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย หัวหน้าที่เป็น นายทหารผู้ใหญ่มียศอย่างสูงคือ พันตรีหลวงพิฆเนศวร์ประสิทธิรักษ์ ความคิกของพวกก่อกบฎแบ่งเป็น 2 พวก
1. ต้องการจะเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสาธารณรัฐ คือ มีประธนาธิบดีเป็นประมุข
2. ต้องการให้มีการปกครองแบบประชาธิประไตยโดยจะทําการใน วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2455
ซึ่งเป็นวันถือนํ้าพิพัฒน์สัตยา แต่ยังไม่กระทําการ ข่าวนี้ล่วงรู้ไปถึง พันเอกหม่อมเจ้าพันธุประวัติ เจ้ากรมช่างแสงได้ทรงทราบเรื่องราวรายละเอียดทั้งหมดจึงได้ทําการจับกุม พวกที่ถูกประหาร พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลดลงเป็นจําคุกตลอดชีวิต
ประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1
เป็นการรบกันระหว่างสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งมีเยอรมัน ออสเตรีย ฮังการี และอีกฝ่ายหนึ่งมี อเมริกา เบลเยี่ยม อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี ฝ่ายนี้เรียกว่า ฝ่ายสัมพันธมิตรที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตัดสินพระทัยส่งทหารไปช่วยฝ่ายส้มพันธมิตร
สาเหตุที่พระองค์ส่งทหารไปช่วยฝ่ายสัมพันธมิตร
1. เยอรมัน ทําลายความเป็นกลางของเบลเยี่ยม ซึ่งเท่ากับละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ
2. เยอรมันด้อยกว่าพันธมิตรทุกอย่าง
3. เพื่อจะได้เผยแพร่เกียรติคุณของชาติไทย ให้นานาประเทศรู้จักชาติไทย
4. เพื่อขจัดปัญหาสนธิสัญญาต่างๆ ที่นานาชาติพยายามผูกมัดไทย และในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 จึงส่งทหารเข้าสู่สงคราม
ประโยชน์ของไทยที่ได้รับจากผลของสงคราม
1. ทําให้ทั่วโลกรู้จักประเทศไทยมากขึ้น และพร้อมกันนั้น ชาติไทยก็ได้รับเกียรติยกย่องให้เท่าเทียมกับอารยประเทศ
2. ความไม่เสมอภาคกับนานาประเทศ ที่เคยมีอยู่กับไทยก็ค่อยๆลดน้อยลง โดยความช่วยเหลือของ ดร. ฟรานซิสบีแซร์ บุตรเขยของประธานาธิบดีวิลสัน ต่อมาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นพระยากัลยาณไมตรี
3. ไทยได้ยกเลิกสัญญาเก่าๆ ที่เคยทําไว้กับเยอรมัน ออสเตรีย ฮังการี เช่นเดียวกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตก็เป็นอันยกเลิกไปตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2461
4. ไทยตั้งพิกัดอัตราภาษีสินค้าขาเข้าได้โดยเสรีนอกจากบางอย่าง ซึ่งได้ทําไว้กับอังกฤษ อิตาลี เป็นสนธิสัญญาพิเศษ
5. เมื่อหมดอายุสัญญาแล้ว ไทยก็ได้ความเสมอภาคเท่าเทียมกับนานาประเทศโดยสมบูรณ์
6. ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกสันนิบาตชาติ
วรรณคดีและกวี
พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่นํามาใช้เป็นแบบเรียนมี
1. มงคลสูตร
2. พระนลคําหลวง
3. ธรรมาธรรมะสงคราม
4. มัทธะพาธา
5. สาวิตรี
6. ตามใจท่าน
เสด็จสวรรคต
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2453 จนถึงเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2468 เริ่มประชวรด้วยโรคลําไส้และโลหิตเป็นพิษ จนถึงเดือนพฤศจิกายน พระอาการประชวรก็กําเริบมากขึ้น จนเวลา 13.45 น. ของวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ก็เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิ์พิมาน ทรงอยู่ในราชสมบัติ 15 ปี มีพระราชธิดาองค์เดียวทรงพระนามว่า เจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๖
เป็นรูปวชิราวุธ ยอดมีรัศมี ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า ซึ่งตั่งอยู่เหนือตั่ง มีฉัตรกลีบ บัวตั้งอยู่สองข้างเป็นสัญลักษณ์ พระบรมนามาภิไธย "วชิราวุธ" หมายถึง อาวุธของพระอินทร
https://sites.google.com/site/kingofth/phra-rach-prawati-phra-mha-ksatriy-mharach-thiy/rachkal-thi-6-phrabath-smdec-phramngkudkela-cea-xyu-haw
|