วงศ์ต่าง ๆ ของผีเสื้อ
ผีเสื้อหลากสีในประเทศไทย พอจะแบ่งออกได้เป็น ๔๐ วงศ์ (family) ดังต่อไปนี้
๑. วงศ์ผีเสื้อผี (Hepialidae)
ผีเสื้อที่มีลักษณะโบราณ ปีกทั้งสองคู่มีขนาดใกล้เคียง กัน การจัดเรียงของเส้นปีกคล้ายคลึงกัน ปีก ๒ คู่เชื่อมยึดกัน แบบติ่งเกี่ยวกัน (jugal type) หนวดสั้นมาก ส่วนปากเสื่อมหายไป วงศ์นี้มีอยู่ประมาณ ๓๐๐ ชนิด พบมากที่สุดในทวีป ออสเตรเลีย หนอนอาศัยอยู่ใต้ดิน เจาะกินอยู่ภายในลำต้นและ รากพืชเติบโตช้ามาก ผีเสื้อพวกนี้บินได้เร็วมาก ผีเสื้อตัวผู้ชอบบินจับกลุ่มกันในเวลาพลบค่ำ รอให้ตัวเมียบินเข้าไปรับการผสมพันธุ์ ในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียว ที่เป็นศัตรูป่าไม้ จัดอยู่ ในสกุลPhassus
วงศ์ผีเสื้อหนอนหอย (Eucleidae)
๒. วงศ์ผีเสื้อหนอนหอย (Eucleidae)
ผีเสื้อในวงศ์นี้มีลำตัวอ้วน ปีกสั้น แต่บินได้เร็ว ส่วนมากมีสีน้ำตาลแต้มเขียว หรือน้ำตาลแดง ส่วนปากเสื่อมไปมาก ไข่มีรูปร่างแบนคล้ายเหรียญ หนอนมีรูปร่างแปลกจากวงศ์อื่นๆ โดยมีรูปร่างคล้ายตัวทาก มีสี และลวดลายต่างๆ สวยงาม หัวซ่อนอยู่ใต้ลำตัว รอบๆ ตัวมีกระจุกขนที่มีพิษ ทำให้ผู้ที่โดนมีอาการปวดแสบปวดร้อน จึงเรียกกันว่า “ตัวเขียวหวาน” หนอนบางชนิดมีลำตัวเรียบ ไม่มีหนามเลย ชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น Parasa lepida กินใบพืชหลายชนิด และ Thosea spp. กินใบไม้ผลหลายชนิด
๓. วงศ์ผีเสื้อหนอนมะไฟ (Zygaenidae)
ผีเสื้อกลางคืนที่ออกหากินในเวลากลางวัน สีสดใส บอกความเป็นพิษในตัว จึงมีผีเสื้อชนิดอื่นๆ มาเลียนแบบ ในประเทศไทยพบว่าเป็นศัตรูของไม้ผล กินใบมะไฟ คือ Cyclosia panthona และ C. papilionaris
๔. วงศ์ผีเสื้อหนอนเจาะผ้า (Tineidae)
ผีเสื้อขนาดเล็ก สีเทา น้ำตาล ดำ หรือค่อนข้างขาวบาง ชนิด มีจุดวาวๆ อย่างโลหะ ปีกยาวเรียว เวลากางออกมีขนาด ไม่เกิน ๑/๒ นิ้ว ชนิดที่ตัวหนอนกินขนนก และเสื้อผ้าในบ้าน คือ Tineola bisselliella ปัจจุบัน ไม่ก่อความ เสียหายมากนัก เนื่องจาก มีการใช้ยาฆ่าแมลง และเสื้อผ้าที่ทอด้วยเส้นใยสังเคราะห์กันมากขึ้น
๕. วงศ์ผีเสื้อหนอนปลอก (Psychidae)
วงศ์นี้พบอาศัยอยู่ทั่วโลก คนส่วนมากจะรู้จักตัวหนอน ที่ทำปลอกหุ้มตัวด้วยเศษพืชต่างๆ นับตั้งแต่เริ่มฟักออกจากไข่ มันจะค่อยๆ ขยายขนาดของปลอกหุ้ม เมื่อเติบโตขึ้นมา ผีเสื้อตัวเมียไม่มีปีก และไม่กินอาหาร อาศัยอยู่ภายในปลอกที่ห่อ หุ้มตัว ผีเสื้อตัวผู้จะตามกลิ่นมาผสมพันธุ์กับตัวเมีย ไข่จะยังคงอยู่ในตัวแม่ที่ตายแล้ว จนฟักออกเป็นตัว จึงออกจากซากตัวแม่ ชนิดที่สำคัญในประเทศไทย มีหนอนปลอกมะพร้าว (Mahasena corbetti)
๖. วงศ์ผีเสื้อหนอนชอนใบ (Gracilaridae)
ผีเสื้อขนาดเล็กมาก ปีกยาวเรียว ขอบปีกมีแผงขนยาว ตัวหนอนมีลักษณะแบน ชอนเข้าไปอาศัยอยู่ในใบไม้ จนโตเต็มที่ในใบๆเดียว บางครั้งจะเข้าดักแด้ในใบไม้ด้วย รูปร่าง ของแผลบนใบจะแตกต่างกันไปตามชนิด มักกินใบพืชชนิด หนึ่งๆ หรือพืชในกลุ่มหนึ่งๆ เท่านั้น พวกที่เป็นศัตรูไม้ผล เช่น หนอนชอนใบละมุด (Acrocercops symbolopis)
๗. วงศ์ผีเสื้อหนอนใยผัก (Plutellidae)
หนอนพวกนี้ ชาวสวนผักรู้จักกันดี ตัวเล็กสีเขียวใช้ใยห่อ หุ้มตัวไว้ใต้ใบผัก เวลาตกใจจะดีดตัวลงจากใบ โดยมีใยห้อยลงไป
ผักที่ชอบคือ ผักคะน้า ผักกาด มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Plutella xylostella ผีเสื้อมีขนาดเล็ก ปีกค่อนข้างยาวสีคล้ำ มีแถบขาวบนปีก
๘. วงศ์ผีเสื้อปีกใส (Sesiidae)
ส่วนมากมีสีฉูดฉาด ปีกยาวเรียว มักมีบริเวณใสๆ บนปีก มองทะลุลงไปได้ หนวดพองออกตอนปลาย คล้ายหนวดของพวกผีเสื้อกลางวัน ปลายท้องมีกระจุกขนรูปคล้ายพัด ส่วนมากอาศัยอยู่ในซีกโลกภาคเหนือ ออกหากินในเวลากลางวัน บางชนิดในขณะบินดูคล้ายพวกผึ้งหรือต่อแตน หนอนเจาะกิน อยู่ภายในลำต้นและรากพืช
๙. วงศ์ผีเสื้อลายจุด (Yponomeutidae)
ผีเสื้อขนาดเล็กถึงขนาดกลาง บริเวณหัวดูเรียบกว่าผีเสื้อ พวกอื่นๆ ปีกสีสวย หรือสีหม่น บางชนิดที่ปลายปีกคู่หน้ามี ลักษณะคล้ายขอ หนอนบางชนิดอาศัยอยู่เป็นกลุ่มในรังที่ทำด้วย ใยเหนียว บางชนิดเป็นหนอนชอนใบ บางชนิดเจาะผลไม้
๑๐. วงศ์ผีเสื้อหนอนเจาะไม้ (Cossidae)
วงศ์ผีเสื้อขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่มาก ปีกค่อนข้าง ยาว ลำตัวใหญ่มาก มีขนปกคลุมแน่น การเรียงของเส้นปีกเป็นแบบโบราณ จำนวนเส้นปีกมีมากกว่าปกติ และมีเซลล์ปีก เล็กๆ หลายเซลล์ หนอนเจาะเข้าไปอาศัยอยู่ในเนื้อไม้ใช้เวลาหลายปี กว่าจะโตเต็มที่ มักพบปลอกดักแด้คาอยู่ปากรูที่หนอน เจาะเอาไว้ ในประเทศไทยมีชนิดที่สำคัญ ๒ ชนิด คือ หนอนเจาะสัก (Xyleutes ceramicus) และหนอนกาแฟสีแดง (Zeuzera coffeae)
๑๑. วงศ์ผีเสื้อหนอนม้วนใบ (Tortricidae)
ผีเสื้อวงศ์นี้พบแพร่กระจายทั่วโลก ปีกกว้างไม่เกิน ๑ นิ้ว ปลายปีกตัดตรงหรือโค้ง เวลาเกาะหุบปีกดูคล้ายรูปกระดิ่ง หนอนในวงศ์นี้กินใบพืชหลายชนิด มันจะใช้ใยยึดใบเดี่ยวหรือมากกว่า ๑ ใบ ชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ คือหนอนม้วนใบส้ม (Cacoecia micaceana)
๑๒. วงศ์ผีเสื้อปีกตัด (Olethreutidae)
ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกับผีเสื้อในวงศ์ก่อน พบอยู่ทั่วโลก ปีกสีน้ำตาลหรือเทา หลายชนิดเป็นศัตรูพืชที่ร้ายแรง โดยเฉพาะในเขตอบอุ่น Carpocapsa pomonella เจาะเข้าไปในต้น และผลของแอปเปิลบางชนิด ทำให้เกิดปมบนกิ่งหรือต้น
วงศ์ผีเสื้อหนอนกอ (Pytralidae)
๑๓. วงศ์ผีเสื้อหนอนกอ (Pytralidae)
วงศ์ที่ใหญ่เป็นอันดับ ๓ ของพวกผีเสื้อ ส่วนมากมีปีกยาวเรียว ส่วนท้องเรียวแหลม ขายาว โดยทั่วไปปีกมีสีหม่น บางชนิดมีลายขีดวาวคล้ายโลหะ ตอนโคนส่วนท้องมีอวัยวะรับ เสียงอยู่คู่หนึ่ง ส่วนมากออกหากินในเวลากลางคืน หนอนเป็นศัตรูสำคัญของพวกธัญพืช เช่น ผีเสื้อชีปะขาว (Tryporyza incertulas) ผีเสื้อหนอนกอข้าว ในสกุล Chilo และ Chilotraea นอกจากนี้ หนอนในวงศ์นี้ยังเป็นหนอนม้วน ใบของพืชอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น มันเทศ ละมุด ถั่ว ฟัก แฟง เป็นต้น หนอนบางกลุ่มดัดแปลงตัวเพื่ออาศัยอยู่ใต้น้ำ สร้างเหงือก ไว้หายใจอาศัยอยู่ในปลอก กัดกินพืชน้ำเป็นอาหาร ชนิดที่มีความ สำคัญมากในประเทศไทย คือ หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด (Ostrinia salentialis)
๑๔. วงศ์ผีเสื้อปีกแฉก (Pterophoridae)
ผีเสื้อในวงศ์นี้มีขนาดเล็ก ลำตัวและขายาว ปีกเว้าตามขอบ เป็น ๒ หรือ ๓ แฉก ขอบปีกมีแผงขนโดยรอบ เวลาเกาะมักกางปีกออกทางด้านข้าง ตั้งฉากกับลำตัว หนอนมีขนปกคลุมมาก บางชนิดมีขนกลวงตอนกลาง ปลายมีของเหลวเหนียวเยิ้มอยู่ เคยมีผู้พบว่า ขนนี้ใช้ป้องกันตัวจากพวกแตนเบียนขนาดเล็กได้ โดยแตนจะติดอยู่ตามขนนี้ หนอนกินใบพืชล้มลุกเป็นอาหาร
๑๕. วงศ์ผีเสื้อไหม (Bombycidae)
รู้จักกันดีทั่วไปจากประโยชน์ของมันในการนำเอาเส้นใย มาทอเป็นผ้าไหมที่สวยงาม และราคาสูง ผีเสื้อไหมที่เลี้ยงกันนี้ มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน เริ่มมีการเลี้ยงกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๘ จนไม่อาจอยู่ในธรรมชาติได้ด้วยตัวเอง หนอนมีลำตัวเกลี้ยงแต่ย่น และมีหงอนสั้นๆ บนส่วนท้องปล้องที่ ๘ กิน เฉพาะใบหม่อนเป็นอาหาร ดักแด้มีสีเหลืองหรือขาวขึ้นอยู่กับพันธุ์ผีเสื้อ บินไม่ค่อยได้ ผีเสื้อไหมมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Bombyx mori
วงศ์ผีเสื้อหนอนบังใบ (Lasiocampidae)
๑๖. วงศ์ผีเสื้อหนอนบังใบ (Lasiocampidae)
ผีเสื้อขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำตัวค่อนข้างอ้วนและมี ขนปกคลุมหนาแน่น ปีกกว้าง ขอบหน้าของปีกคู่หลังมักพอง ยื่นไปข้างหน้า บริเวณนั้นมีเส้นปีกสั้นๆ พยุงอยู่หลายเส้น ไม่พบมีหนามสำหรับเกี่ยวปีก ส่วนปากเสื่อมไป หนวดมักเป็นแบบฟันหวี ผีเสื้อในวงศ์นี้ วางไข่เป็นกลุ่มติดอยู่ตามกิ่งไม้ หนอนมีขนปกคลุมหนาแน่น และสีสดสะดุดตา หลายชนิดทำลายใบ ไม้ผล เช่น หนอนบุ้งกินใบชมพู่ (Trabala vishnou) ตัวผู้มีสีเขียวอ่อน แต่ตัวเมียซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ามีสีเหลืองสด
วงศ์ผีเสื้อยักษ์ (Saturnidae)
๑๗. วงศ์ผีเสื้อยักษ์ (Saturnidae)
ผีเสื้อในวงศ์นี้มีขนาดของปีกใหญ่ที่สุด จำนวนชนิดไม่ มากนัก หนวดมีรูปร่างแบบฟันหวี เห็นได้ชัดมากในตัวผู้ ส่วนปากหดหายไป จึงไม่กินอาหารเลย หนอนมีขนาดใหญ่มาก มี ปุ่มหนามทั่วตัว เข้าดักแด้ในรังดักแด้ที่เอาใบไม้แห้งหลายใบมา พันเข้าด้วยกัน ชนิดที่รู้จักกันดีคือ ผีเสื้อหนอนใบกระท้อนหรือ ผีเสื้อยักษ์ (Attacus atlas) มีปีกแผ่กว้างถึง ๑๕-๑๘ เซนติเมตร ผีเสื้อหนอนอะโวกาโด (Cricula trifenestrata) ผีเสื้อพระจันทร์(Actias selene) ปีกสีเขียว หางยาวมาก ผีเสื้อที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ โดยเราได้เส้นไหมจากรังดักแด้มาทอผ้า ได้แก่ พวกผีเสื้อไหมป่า ในสกุล Antheraea และ Philosamia
๑๘. วงศ์ผีเสื้อพราหมณ์ (Brahmaeidae)
เป็นวงศ์เล็ก แต่มีขนาดใหญ่ อาศัยอยู่มากในเขตอบอุ่น เหนือปีกมีลายแปลกสะดุดตาสีน้ำตาล หนวดแบบฟันหวีคล้าย ผีเสื้อในวงศ์ก่อน แต่พวกนี้มีงวงใช้ดูดน้ำหวาน มักพบมาบิน เล่นไฟตอนกลางคืนในบริเวณป่าทึบ ในประเทศไทยพบตามป่า ค่อนข้างสูง
วงศ์ผีเสื้อหนอนคืบ (Geometridae
๑๙. วงศ์ผีเสื้อหนอนคืบ (Geometridae)
เป็นวงศ์ที่ใหญ่เป็นอันดับ ๒ ปีกบาง ขนาดเล็กมากจน ถึงขนาดปานกลาง สีและลวดลายมักคล้ายกันทั้งสองปีก
เวลาเกาะกับพื้นจะแผ่ปีกแบนราบกับที่เกาะ หนอนได้ชื่อว่า “หนอนคืบ” เนื่องจากมันมีขาอยู่ตอนปลายสุดทางหัวและทางท้าย
เวลาเคลื่อนที่จึงใช้วิธีคืบไป หนอนมีสีและลวดลายใกล้เคียงกับพืชอาหาร เวลาตกใจจะยืดตัวตรง อยู่นิ่งเฉยเป็นเวลานาน เข้า
ดักแด้ในดินหรือในรังดักแด้ ที่ห่อเอาใบไม้มาติดกันไว้หลวมๆ ชนิดที่สำคัญทางเศรษฐกิจ คือผีเสื้อหนอนกินใบเงาะ (Pingasa ruginaria)
วงศ์ผีเสื้อปีกขอ (Drepanidae)
๒๐. วงศ์ผีเสื้อปีกขอ (Drepanidae)
ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกับผีเสื้อหนอนคืบมาก แต่ส่วนมากจะมีมุมปลายปีกคู่หน้าโค้งงอ คล้ายตะขอ หนามสำหรับเกี่ยวปีกเล็กมาก
หรือไม่มีเลย ส่วนมากมีสีน้ำตาล มีชุกชุมมากที่สุด ในบริเวณเอเชียเขตร้อน หนอนตัวเรียว ตอนปลายตัวมีติ่งยื่นออกไป ติ่งนี้จะยกขึ้นมาได้ เข้าดักแด้ตามใบไม้บนดิน
๒๑. วงศ์ผีเสื้อหางยาว (Uraniidae)
พบในเขตร้อนทั่วโลก ปีกกว้าง สีสวยงามมาก ส่วนมากมีหาง ยาวที่ปีกคู่หลัง ส่วนมากออกหากินในเวลากลางวัน
พวกที่ออกหากินกลางคืนจะมีสีออกเทา เคยมีผู้พบว่า มีการบินอพยพมากเป็นพันตัว ชนิดที่พบบ่อยๆในประเทศไทยคือ Nyctalaemon patroclus
ผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อเหยี่ยว
๒๒. วงศ์ผีเสื้อเหยี่ยว (Sphingidae)
ผีเสื้อขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำตัวค่อนข้างใหญ่ เมื่อเทียบกับปีก หนวดพองออก ตอนปลายมีขอเล็กๆ บินได้เร็ว กระพือปีกถี่มาก
เวลากินน้ำหวานจากดอกไม้จะบินนิ่งอยู่กับที่ แล้วสอดงวงเข้าไปดูดกิน เวลากลางวันเกาะพักนอนตามพุ่มไม้ และเปลือกไม้ออกหากินตอนเย็น และตอนใกล้ค่ำ หนอนมีลำตัว อ้วน เกลี้ยง สีเขียว หรือน้ำตาลเป็นส่วนมาก ปลายตัวมีหนามยื่นยาวออกมาจึงได้ชื่อว่า “หนอนหงอน” เวลาถูกรบกวนจะยกส่วนหน้าของลำตัวชูขึ้นมา เข้าดักแด้ในดิน ชนิดที่พบบ่อยๆ ได้แก่ผีเสื้อหนอนหงอนกาแฟ (Cephanodes hylas) ผีเสื้อหัวกะโหลก (Acherontia styx) ที่มีลายรูปคล้าย หัวกะโหลกบนลำตัว กินใบมันเทศและยาสูบ หนอนแก้วยี่โถ (Dielephisl nerii) กินใบยี่โถ และใบชวนชื่น
๒๓. วงศ์ผีเสื้อหนอนกระทู้ (Noctuidae)
เป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาผีเสื้อทั้งหมด มีขนาดและ สีสันต่างๆ กันไป ส่วนมากจะมีสีและลายบนปีกคู่หน้าต่างจากปีกคู่หลังหนอนมักมีลายขีดตามยาว รู้จักกันในชื่อ “หนอนกระทู้” ทำลายกล้าข้าวและข้าวโพด ในเวลากลางวันซ่อนตัวอยู่ใต้ดินออกกัดกินกล้าพืชในเวลากลางคืน เช่น หนอนกระทู้ ฝักข้าวโพด (Heliothis separata) หนอนกระทู้ข้าวกล้า (Spodoptera mauritia)หนอนกระทู้อ้อย (Pseudaletia loreyi)หนอนกระทู้หอม (Laphygma exigua)หนอนกระทู้ผัก (Prodenia litura) บางชนิดเป็นศัตรูพืชที่สำคัญในระยะตัวเต็มวัย เช่น ผีเสื้อมวนหวาน (othreis fullonica) ใช้งวงเจาะดูดน้ำหวานจากผลส้ม ทำให้ส้มร่วงเสียหายทีละมากๆ
ผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อปีกปม
๒๔. วงศ์ผีเสื้อปีกปม (Notodontidae)
วงศ์นี้มีแพร่กระจายทั่วโลก ขนาดปานกลาง มักมีปีกสี เทาหรือน้ำตาล ปีกยาวเรียวปลายปีกมน ลำตัวยาวเลยปีกออกไปเวลาเกาะพักหนอนมีรูปร่างหลายแบบ เวลาถูกรบกวนจะ ยกส่วนหน้าและส่วนท้ายของลำตัวขึ้นมา ขาคู่สุดท้ายของหนอนเสื่อมหายไปหมดหนอนบางชนิดอยู่กันเป็นกลุ่ม เข้าดักแด้ใน รังดักแด้ที่ทำจากใบไม้แห้ง ในประเทศไทยมีหลายชนิดที่เป็นศัตรูผลไม้ เช่นหนอนกินใบเงาะ (Dudusa nobilis) หนอนกินใบมะขามเทศ (Stauropus alternus)
ผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อมอทป่า
๒๕. วงศ์ผีเสื้อมอทป่า (Agaristidae)
ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อหนอนกระทู้ปีกดำ แต้มจุดและแถบสีแดง เหลือง และส้ม ออกหากินในเวลากลางวันหนอนมีสีสด และออกกินใบพืชในที่โล่งแจ้ง
ผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อมอทป่า
๒๖. วงศ์ผีเสื้อลายเสือ (Arctiidae)
พบอาศัยอยู่ทั่วโลก มีชุกชุมในเขตร้อน ส่วนมากปีกสีอ่อน มีแต้มหรือจุดสีเข้มและสีฉูดฉาด มีอวัยวะรับคลื่นเสียงของพวกค้างคาวได้ทั้งยังสามารถปล่อยคลื่นออกรบกวนระบบเรดาร์ของค้างคาวได้อีกด้วย เวลาถูกรบกวน จะทิ้งตัวลงนอนนิ่งบนพื้นดินหนอนมีขนปกคลุมหนาแน่นมาก ส่วนมากกินใบพืชจำพวกหญ้า ชนิดที่สำคัญ คือ บุ้งสีน้ำตาล ในสกุล Creatonotus และชนิด Amsacta lactinea ทำลายใบข้าวโพดชนิด Utetheisa pulchella ได้แก่ หนอนกินดอกต้นงวงช้าง
๒๗. วงศ์ผีเสื้อหญ้า (Euchromiidae)
ผีเสื้อในวงศ์นี้มีสีสดใส พบมากในเขตร้อน ขนาดเล็กถึง ขนาดกลาง หากินในเวลากลางวัน ปีกมีสีคล้ายกับผีเสื้อลายเสือหนอนมีลักษณะคล้ายกับหนอนผีเสื้อลายเสือ เข้าดักแด้ในรังดักแด้ ที่ทำด้วยเส้นไหมและขนจากตัวหนอน โดยทั่วไปจะมีรูปร่างคล้ายกับพวกต่อแตน หนอนกินพืชจำพวกหญ้าเป็นอาหาร
ผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อบุ้งสันหลังขาว
๒๘. วงศ์ผีเสื้อบุ้งสันหลังขาว (Hypsidae)
ผีเสื้อวงศ์เล็กพบมากในแอฟริกา และเอเชียเขตร้อน จนถึงออสเตรเลีย ต่างจากผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อหางเหลืองตรงที่มีงวง สำหรับกินอาหาร หนอนมีขนยาวปกคลุมตัวหนาแน่น ดักแด้มีรัง ยาวๆ ห่อหุ้ม ชนิดที่สำคัญในประเทศไทย คือ ผีเสื้อบุ้งสันหลังขาว (Neochra dominia) และบุ้งปอเทือง (Argina cribaria) กินใบข้าวโพด
๒๙. วงศ์ผีเสื้อหางเหลือง (Lymantriidae)
เป็นวงศ์ผีเสื้อขนาดเล็กมีแพร่กระจายทั่วโลก บางชนิดเป็น แมลงศัตรูป่าไม้ที่สำคัญในเขตอบอุ่น ไม่มีงวงดูดอาหาร และไม่มี ตาเดี่ยวตัวผู้มีหนวดแบบฟันหวี และเป็นฝ่ายบินไปหาตัวเมีย ซึ่งไม่มีปีกเลย หรือมีปีกขนาดเล็กมาก ตัวเมียวางไข่เป็นกลุ่มปกคลุมด้วยขนจากส่วนท้อง หนอนมีขนเป็นกระจุกสีต่างๆ มีพิษทำให้คันได้ ชนิดที่พบเป็นศัตรูพืชในประเทศไทย คือ บุ้งเหลือง(Dasychira horsfieldi) กินใบชมพู่ ฝรั่ง ข้าวโพด บุ้งหูแดง (Euproctis virguncula) กินใบข้าวโพด และบุ้งปกขาว (Orygia turbata)กินใบถั่วลิสง
ผีเสื้อในวงศ์ต่อไปนี้ จัดไว้เป็นพวกผีเสื้อกลางวัน (but- terflies) มีในประเทศไทยทั้งหมด ๑๑ วงศ์
๓๐. วงศ์ผีเสื้อบินเร็ว (Hesperiidae)
ผีเสื้อในวงศ์นี้มีลักษณะหลายอย่างแตกต่างไปจากผีเสื้อในวงศ์อื่นๆ ทั้งหมด ลักษณะใกล้ไปทางผีเสื้อกลางคืน เส้นปีกทุกเส้นแยกออกมาจากเซลล์ปีก หรือจากโคนปีกโดยตรง ไม่มี การแตกสาขา หัวกว้างกว่าลำตัว โคนหนวดแยกห่างออกจากกัน ส่วนมากมีปลายหนวดโค้งงอเป็นขอ เวลาเกาะจะกางปีก คู่หน้าออกเล็กน้อย แล้วแผ่ปีกคู่หลังออกเกือบตั้งฉากกับปีกคู่ หน้า ในเมืองไทยมีอยู่ประมาณ ๒๐๐ ชนิดหนอนชอบกินใบ พืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น หญ้า ปาล์ม ขิง ข่า อาศัยอยู่ในใบที่ ม้วนด้วยเส้นใย หนอนมีสีเขียวอ่อนหัวดำคอดลง เห็นชัดบริเวณ คอเข้าดักแด้ในม้วนใบ ชนิดที่สำคัญ คือ หนอนม้วนใบกล้วย (Erionota thrax) และหนอนม้วนใบมะพร้าว (Gangara thyrsis)
ผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อหางติ่ง
๓๑. วงศ์ผีเสื้อหางติ่ง (Papilionidae)
ผีเสื้อในวงศ์นี้มีชุกชุมในประเทศร้อน พบในประเทศไทย ๕๘ ชนิด ทั้งสองเพศมีขาคู่หน้าที่สมบูรณ์ ตัวผู้มีกระจุกขน เล็กๆทางด้านในของปลายขา ใกล้โคนปีกคู่หน้ามีเส้นปีกเล็กๆ โค้งลงล่าง ปีกคู่หลังมีเส้นปีกแยกจากโคนปีกเพียงเส้นเดียว(วงศ์อื่นๆ มี ๒ เส้น) ตัวผู้มีขอบในของปีกคู่หลัง มักพับขึ้นมา และมีกระจุกขนสีขาวอยู่เต็ม หนอนมีรูปร่างหลายแบบทุกแบบมีอวัยวะที่เรียกว่า ออสมีทีเรียม (osmeterium) ใช้ปล่อยกลิ่นออกมาขับไล่ศัตรู รูปร่างเป็นแฉกสีแดงซ่อนอยู่ในช่องข้างหลังหัวชนิดที่พบทั่วไป ตัวหนอนกินใบมะนาวและส้ม คือ ผีเสื้อหนอนส้ม และ P.Demoleus มักพบตัวผู้ ลงจับกลุ่มกินน้ำตามทรายชื้นตัวเมียอยู่ตามยอดไม้หรือที่สูง
๓๒. วงศ์ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ (Pieridae)
พบอาศัยอยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตร้อน มักมีปีกสีเหลือง และขาว ขาคู่หน้าเจริญดีเหมือนผีเสื้อหางติ่ง เล็บที่ปลายเท้ามี ๔ ซี่ต่างจากผีเสื้อในวงศ์อื่นที่มีเพียง ๒ ซี่เท่านั้น ในประเทศ ไทยมีประมาณ ๕๐ ชนิด ที่พบเห็นทั่วโลกคือ ผีเสื้อหนอนคูน(Catopsilia pomona) กินใบคูน และใบขี้เหล็ก ผีเสื้อเณร (Eurema spp.) ตัวเหลืองเล็ก บินเรี่ยๆ ตามกอหญ้าหนอนสีเขียวใบไม้มีลายขาวพาดด้านข้างตัวตลอด ตัว มักพบลงเกาะดูดกินน้ำตามทรายชื้นเป็นกลุ่มใหญ่
ผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อหนอนใบรัก
๓๓. วงศ์ผีเสื้อหนอนใบรัก (Danaidae)
ผีเสื้อในวงศ์นี้ ตัวขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีสารพิษอยู่ในตัว ได้มาจากพืชอาหารตอนที่เป็นตัวหนอน ตอนโคนปีกคู่หน้ามีเส้นปีกบางๆ สั้นมาก โค้งขึ้นข้างบน ปีกทั้งสองมีเซลล์ ปีกแบบปิด ตัวผู้มีแถบเพศเป็นก้อนสีเข้ม หรือเป็นบริเวณสีด้านๆนอกจากนี้จะพบมีพู่ขน ๒ – ๔ พู่ ตรงปลายส่วนท้อง หนอนมี ลายพาดขวางสีเหลืองสลับดำ หรือส้มอ่อนสลับดำ และมีขนยาว๒-๔ คู่ กินพืชป่าพวกที่มียางขาวและพวกมะเดื่อ หนอนชนิดที่ กินใบรัก คือ Danaus chrysippus
๓๔. วงศ์ผีเสื้อสีน้ำตาล (Satyridae)
วงศ์นี้เชื่อว่ามีแหล่งกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาเขตร้อน มี ชุมมากในเขตอบอุ่นทั่วโลก ส่วนมากมีสีน้ำตาลอ่อนหรือแก่ประกอบด้วยลายขีดหรือแต้มด้วยจุด ดวงตากลม (ocellus) ปีกทั้งสองคู่มีเซลล์ปีกปิด มีเส้นปีก ๑ เส้นหรือมากกว่าขยายพองโตกว่าปกติ พบในเมืองไทยประมาณ ๘๐ ชนิด หนอนตัวยาว เรียวไปทางหัวและท้ายกินใบพืชพวกใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น หญ้า ไผ่และปาล์มต่างๆ ชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ผีเสื้อหนอนมะพร้าว (Elymnias hypermnestra)
ผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อป่า
๓๕. วงศ์ผีเสื้อป่า (Amathusiidae)
ผีเสื้อขนาดกลางจนถึงใหญ่มาก พบเฉพาะในทวีปเอเชีย จนถึงออสเตรเลีย คล้ายคลึงกับผีเสื้อในวงศ์ Morphidae ของ อเมริกาเขตร้อน ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายผีเสื้อสีน้ำตาล ปีกกว้าง กว่า หนวดรูปกระบองเรียว ปลายเซลล์ของปีกคู่หน้ายื่นแหลม ออกมามีในประเทศไทย ๒๘ ชนิด บางชนิดมีขนาดใหญ่ และสีสะดุดตา เช่น ผีเสื้อนางพญากอดเฟรย์ (Stichophthalma godfreyi) พบครั้งแรกในประเทศไทย หนอนมีขนคลุมทั่วตัว กิน อยู่เป็นกลุ่ม เช่น ผีเสื้อหนอนมะพร้าวขนปุย (Amathusia phidip- pus) เคยมีการระบาดทำลายมะพร้าวในภาคใต้
๓๖. วงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ (Nymphalidae)
ผีเสื้อในวงศ์นี้มีขาคู่หน้าหดเล็กลง ใช้ในการเดินหรือ เกาะไม่ได้ จึงเห็นเป็นพู่ขนสั้นๆ บางคนจึงเรียกกันว่า “ผีเสื้อ สี่ขา”สีโดยทั่วไปสดใส ปีกทั้งสองมีเซลล์ปีกเปิด การจำแนก ผีเสื้อในวงศ์นี้ยึดลักษณะของตัวหนอนเป็นหลัก หนอนมีขนเป็นหนามอยู่ทั่วตัวเป็นส่วนใหญ่ ออกหากินเฉพาะในเวลาที่มีแสง แดดจัด มักพบกางปีกออกผึ่งแดดอยู่ตามยอดไม้ ผีเสื้อที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ผีเสื้อหนอนละหุ่ง (Ariadne aridadne) ผีเสื้อบารอนหนอนมะม่วง (Euthalia aconthea)
๓๗ วงศ์ผีเสื้อหนอนหนาม (Acraeidae)
ผีเสื้อในวงศ์นี้ ส่วนมากอยู่ในทวีปแอฟริกา ตอนใต้ทะเล ทรายสะฮารา มีอาศัยอยู่ในทวีปเอเชียเพียง ๒ ชนิด และเพียง ชนิดเดียวคือ ผีเสื้อหนอนหนาม (Acraea issoria) พบ บริเวณภาคเหนือของไทย ปีกยาว เรียวปลายมนกลม เนื้อปีก ค่อนข้างบางเกล็ดสีบนปีกเรียงห่างกัน ท้องยาวเรียว ปีกมัก มีสีสด มีสารพิษในตัวเหมือนกับผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อหนอนใบรัก
ผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อจมูกแหลม
๓๘. วงศ์ผีเสื้อจมูกแหลม (Libytheidae)
เดิมผีเสื้อในวงศ์นี้ถูกจัดรวมไว้กับผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อปีก กึ่งหุบ แต่มีลักษณะที่เห็นได้ชัด คือ ส่วนปากยื่นแหลมออกไป ข้างหน้ามาก ปลายปีกโค้งออก มุมปลายตัดเป็นมุมฉาก ปกติ พบเกาะตามทรายชื้นริมลำธารและแม่น้ำ ในเมืองไทยมีอยู่เพียง ๔ ชนิด ทุกชนิดอยู่ในสกุล Libythea
๓๙. วงศ์ผีเสื้อปีกกึ่งหุบ (Riodinidae)
มีชุกชุมมากในทวีปอเมริกาใต้ ในเอเชียมีไม่มากนัก ตัว ผู้มีข้อเท้า ขาคู่หน้าหดหายไป ผิดกับตัวเมียที่เจริญสมบูรณ์ ดีส่วนมากชอบอยู่ตามป่าทึบบนภูเขา ชอบเกาะกางปีกออก เล็กน้อย ทำให้ดูเหมือนว่าปีกกึ่งกางกึ่งหุบ ปีกมักมีสีน้ำตาล หรือแดงพาดด้วยแถบหรือจุดสีจางกว่า ใต้ปีกจะเป็นจุดสี ฟ้าวาว แดง เหลืองอ่อน ประพราวไปหมด
ผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อสีน้ำเงิน
(กำลังผสมพันธุ์)
๔๐. วงศ์ผีเสื้อสีน้ำเงิน (Lycaenidae)
วงศ์นี้เป็นวงศ์ใหญ่ มีขนาดปีกกว้างตั้งแต่ไม่ถึง ๒ เซน- ติเมตร จนถึง ๖ เซนติเมตร โดยทั่วไปปีกสีน้ำเงินหรือฟ้า ปีกคู่หลังไม่พบมีเส้นเล็กๆใกล้ขอบหน้าของปีก บริเวณรอบตามีวง สีขาวล้อมรอบ โคนหนวดอยู่ชิดกัน หนอนมีรูปร่างกลม แบนคล้ายตัวทาก (slug) กินยอดและใบอ่อนของพืชตระกูลถั่ว มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมดชนิดต่างๆมาก โดยมดจะกินน้ำหวานจากต่อมบนหลัง และช่วยป้องกันอันตรายให้ หนอนบางพวก กินเพลี้ยอ่อนและเพลี้ยหอยเป็นอาหาร หนอนของผีเสื้อในสกุล Rapalaและ Virachola เป็นศัตรูสำคัญของไม้ผลหลายชนิด
ที่มา https://faiikanikwanputtanak.wordpress.com/วงศ์ต่างๆของผีเส |