กร็ดความรู้เรื่องผีเสื้อ

เรื่องน่ารู้ของผีเสื้อ

วงศ์ต่าง ๆ ของผีเสื้อ

เทคนิคการดูผีเสื้อน่ารู้

5 พฤติกรรมของผีเสื้อ

แบบทดสอบผีเสื้อที่คุณเลือก


ผีเสื้อกลางคืน กับ ผีเสื้อกลางวัน

ธรรมชาติ สร้างสรรค์สรีระของผีเสื้อออกมาได้อย่างลงตัว ผีเสื้อจึงคู่ควรกับดอกไม้ เพราะทั้งดอกไม้และผีเสื้อ คือสิ่งมีชีวิตที่มีอายุขัยสั้นเหมือนกัน ก่อนจะมาเป็นผีเสื้อ แมลงชนิดนี้ไม่ถูกเรียกว่าลูกผีเสื้อ แต่จะเริ่มต้นจากคำว่า ไข่ หนอน และดักแด้ และตัวเต็มวัย หรือ ผีเสื้อ

วงจรชีวิต

 ผีเสื้อมีการเจริญเติบโตแบบโฮโลเมตาโบลัส (Holometabolous) คือ การเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์ (Complete metamorphosis) แบ่งได้เป็น 4 ระยะ คือ

ไข่ --> หนอน --> ดักแด้ --> ตัวเต็มวัย

 การเจริญเติบโตในแต่ละขั้นตอน ผีเสื้อจะมีรูปร่างที่ไม่เหมือนกันเลย ข้อดีสำหรับการเจริญเติบโตแบบนี้ คือแต่ละช่วงของวงจรชีวิตต้องการอาหารแตกต่างกัน และอาจอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน มีศัตรูต่างชนิดกัน ทำให้การเจริญเติบโตในแต่ละระยะ มีอัตราการเสี่ยงต่อการถูกทำลายลดน้อยลง

 ผีเสื้อ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ผีเสื้อกลางวัน (Butterfly) และ ผีเสื้อกลางคืน (Moth) โดยทั่วโลกมีผีเสื้อทั้ง 2 กลุ่มรวมกันอยู่ 77 วงศ์ ประมาณ 225,000 ชนิด แบ่งเป็นผีเสื้อกลางวันประมาณ 20,000 ชนิด ที่เหลือเป็นผีเสื้อกลางคืนทั้งหมด

ในประเทศไทยได้มีการสำรวจและจำแนกผีเสื้อไว้อย่างน้อย 40 วงศ์ แบ่งเป็นผีเสื้อกลางวัน 11 วงศ์ ผีเสื้อกลางคืน 29 วงศ์ ในจำนวน 11 วงศ์ของผีเสื้อกลางวัน จำแนกชนิดแล้วได้ 1,114 ชนิด

ข้อแตกต่างของผีเสื้อกลางวันและกลางคืน นอกจากเรื่องการออกหากินที่ชื่อของผีเสื้อทั้ง 2 กลุ่มก็บอกอยู่แล้วว่าหากินเวลาใด เรายังมีข้อสังเกตง่ายๆ เกี่ยวกับผีเสื้อกลางวันและกลางคืน ดังนี้ ผีเสื้อกลางวัน จะมีสีสันสวยงามสดใสกว่าผีเสื้อกลางคืน ปากมีลักษณะเป็นงวง พร้อมกันนี้จะมีลำตัวที่เรียวยาว ปีกไม่มีขนปกคลุมหรือถ้ามีก็จะบางมากๆ เห็นไม่ชัดเจน เวลาเกาะปีกจะยกพับขึ้นตั้งฉากกับลำตัว ส่วนหนวดก็จะชูเป็นรูปตัววี โดยที่ปลายหนวดจะมีตุ่มเล็กๆ คล้ายกระบองให้สังเกต

ผีเสื้อกลางคืน ส่วนมากสีสันจะออกโทนเรียบๆ ไม่มีลวดลายเด่นชัดสวยงามอย่างผีเสื้อกลางวัน ด้านลำตัวก็จะกลมและอ้วนกว่า ที่ปีกจะมีขนปกคลุมอยู่เป็นจำนวนมากแถมยังเป็นเส้นยาวๆ มองเห็นได้ชัดเจน เวลาเกาะจะกางปีกขนานกับลำตัว พร้อมกับเอาลำตัวซ่อนไว้ใต้ปีก ส่วนหนวดจะมีขนเหมือนแปรงลวดหรือขนนก บางชนิดมีปากลดรูปไปจนไม่สามารถกินอาหารได้ เช่น ผีเสื้อยักษ์

ที่มา http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=145:2011-10-17-08-21-53&catid=25:the-project&Itemid=68