เครื่องบินขับไล่เครื่องบินขับไล่เป็นอากาศยานทางทหารที่ถูกออกแบบมาเพื่อการต่อสู้ทางอากาศกับอากาศยานลำอื่นเป็นหลัก มันตรงกันข้ามกับเครื่องบินทิ้งระเบิด ที่ถูกออกแบบมาเพื่อโจมตีภาคพื้นดิน โดยการทิ้งระเบิดเป็นหลัก เครื่องบินขับไล่นั้นมีขนาดเล็ก รวดเร็ว และคล่องแคล่ว เครื่องบินขับไล่มากมายจะมีความสามารถรองในการโจมตีภาคพื้นดิน และบ้างก็มีสองบทบาทโดยเรียกว่า เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด บางครั้งคำว่าเครื่องบินขับไล่ก็ถูกใช้ร่วมกับเครื่องบินโจมตีภาคพื้นดิน เครื่องบินขับไล่โดยหลักแล้วจะหมายถึงเครื่องบินติดอาวุธที่แย่งครองความเป็นจ้าวทางอากาศ เหนือข้าศึกในสมรภูมิ ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง ความสำเร็จและความเหนือกว่าทางอากาศได้กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญในชัยชนะของสงคราม โดยเฉพาะสงครามทั่วไประหว่างกองทัพปกติ (ไม่เหมือนกับสงครามกองโจร) การซืื้อขาาย การฝึกและการดูแลรักษากองบินเครื่องบินขับไล่จะแสดงถึงทุนที่มากมายของกองทัพนั้น ๆ ศัพท์เฉพาะทางคำว่า"ไฟเตอร์" (อังกฤษ: fighter) ไม่ได้เป็นคำที่ใช้ภาษาอังกฤษอย่างทางการจนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในกองบินของสหราชอาณาจักรเครื่องบินเหล่านี้ถูกเรียกว่า "เครื่องบินสอดแนม"(อังกฤษ: scout) จนถึงช่วงต้นปี พ.ศ. 2463 กองทัพบกสหรัฐอเมริกา เรียกเครื่องบินขับไล่ว่า "pursuit" อันหมายถึงเครื่องบินติดตาม(การใช้ชื่อนำหน้าเครื่องบินในยุคนั้นจึงเป็นตัว P) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2459 จนถึงปลายปีพ.ศ. 2483 ในภาษาฝรั่งเศสและภาษาเยอรมนีจะใช้คำที่หมายความว่า "นักล่า" สิ่งนี้ถูกใช้ตามมากมายในภาษาอื่น ๆ ยกเว้นในภาษารัสเซียซึ่งเครื่องบินขับไล่ถูกเรียกว่า "истребитель" (ออกเสียงว่า "อิสเตรบิเตล"), ซึ่งหมายความว่า "ผู้ทำลาย" ถึงแม้ว่าคำว่า "เครื่องบินขับไล่" หรือ "ไฟเตอร์" ทางเทคนิคแล้วจะหมายถึงเครื่องบินที่ถูกออกแบบมาเพื่อยิงเครื่องบินลำอื่น การออกแบบดังกล่าวยังเป็นแบบหลากหลายบทบาทอย่างเครื่องบินขับไล่โจมตีและเครื่องบินโจมตีภาคพื้นดินที่ขนาดเล็กกว่า ตัวอย่างเช่น ในสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาพึงพอใจในเครื่องบินขับไล่มากกว่าเครื่องบินดำทิ้งระเบิด และพี-47 ธันเดอร์โบลท์ก็เป็นที่นิยมใช้ในการโจมตีภาคพื้นดิน เอฟ-111 ถูกใช้เพื่อเป็นเพียงเครื่องบินโจมตีทิ้งระเบิดเท่านั้น เครื่องบินทิ้งระเบิดโดยทั่วไปแล้วจะหมายถึงบทบาทในการทิ้งระเบิดในระยะไกล ความไม่ชัดเจนนี้ได้ตามมาด้วยการใช้เครื่องบินขับไล่ในการโจมตีทหารราบและสิ่งก่อสร้างด้วยการใช้การยิงกราดลงมาจากฟ้าหรือทิ้งระเบิด หนึ่งในเครื่องบินขับไล่ที่แพงที่สุดอย่างเช่น เอฟ-14 ทอมแคท และ เอฟ-15 อีเกิล ถูกใช้เป็นเครื่องบินสกัดกั้นในทุกสภาพอากาศเช่นเดียวกับการเป็นเครื่องบินขับไล่ครองอากาศ มีเพียงตอนช่วงท้ายเท่านั้นที่พวกมันมาทำหน้าที่อากาศสู่พื้น เครื่องบินขับไล่/โจมตี หลายภารกิจอย่าง เอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท มักถูกกว่าและทำหน้าที่ในการโจมตีภาคพื้นดิน หรือในกรณีของเอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ทจะเข้าแทนที่เพราะความสามารถที่หลากหลายเป็นพิเศษของเครื่องบิน การริเริ่มเครื่องบินขับไล่ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบโต้การใช้อากาศยานและเรือบินในการทำหน้าที่ลาดตระเวนสอดแนมและโจมตีภาคพื้นดินในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เครื่องบินขับไล่ยุคแรก ๆ นั้นมีขนาดเล็กและมีอาวุธที่เบามากเมื่อเทียบกับเครื่องบินขับไล่ในปัจจุบัน และมักเป็นเครื่องบินปีกสองชั้น ต่อมา เมื่อสงครามทางอากาศและการครองอากาศเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น ในสงครามโลกครั้งที่สองเครื่องบินขับไล่เป็นเครื่องบินปีกเดี่ยวที่ทำจากเหล็กพร้อมปืนใหญ่หรือปืนกลที่ปีก เมื่อสิ้นสุดสงครามเครื่องยนตร์เทอร์โบเจ็ทก็เริ่มเข้ามาแทนที่เครื่องยนต์ลูกสูบเพราะแรงขับเคลื่อนที่ดีกว่า และเพราะอาวุธใหม่ ๆ เริ่มเข้ามาอีกมาก เครื่องบินขับไล่ไอพ่นในปัจจุบันมีเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนหนึ่งหรือสองเครื่องยนต์ และติดตั้งเรดาร์เพื่อใช้ในการหาเป้าหมาย อาวุธจะประกอบด้วยขีปนาวุธอากาศสู่อากาศเป็นหลัก พร้อมกับปืนใหญ่เป็นอาวุธรอง (โดยปกติแล้วจะมีขนาด 20 และ 30 ม.ม.) อย่างไรก็ตาม พวกมันก็สามารถใช้ขีปนาวุธอากาศสู่พื้นได้เช่นเดียวกับระเบิดนำและไม่นำวิถ แหล่งข้อมูล https://th.wikipedia.org/wiki/เครื่องบินขับไล่ |